top of page
Search
Writer's pictureAll anythings

โรคไตเรื้อรัง ตรวจพบแต่แรก มีโอกาสหายขาด แถบตรวจคัดกรองโรคไตเรื้อรัง จากจุฬา ฯ ใช้ง่าย รู้ผลใน 15 นา

โรคไตเรื้อรังเป็นภัยเงียบที่บั่นทอนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจำนวนมากในแต่ละปี ประมาณการณ์ว่าในประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคไตประมาณ 17 % ของจำนวนประชากรหรือราว 8 ล้านคน ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นกลุ่มที่อาการยังไม่ปรากฎ จึงไม่ไปตรวจและยังคงดำเนินพฤติกรรมซ้ำเติมไตให้ถดถอยลงไปเรื่อยๆ

“กว่าร่างกายจะแสดงอาการที่บ่งชี้ถึงโรคไตเรื้อรัง เช่น มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยและตัวบวม ผู้ป่วยก็เข้าสู่ระยะค่อนข้างหนักซึ่งไตทำงานได้เพียง 30 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ดังนั้น ระยะของโรคมีความสำคัญต่อผลการรักษา หากตรวจพบเจอตั้งแต่มี​​อาการ โรคไตระยะแรก ก็จะสามารถชะลอความเสื่อมของไตได้ดีกว่าและมีโอกาสที่จะหายขาดจากโรคไตได้สูงมาก” รองศาสตราจารย์ ดร.นพ.ณัฐชัย ศรีสวัสดิ์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงโอกาสในการลดจำนวนผู้ป่วยไตในประเทศ international program in thailand

ปัญหาเรื่องบประมาณในการดูแลผู้ป่วยโรคไตที่มีค่าไตสูง ไตทํางานผิดปกติ

รศ.ดร.นพ.ณัฐชัย เผยว่าปัจจุบัน สำนักหลักประกันสุขภาพและสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติใช้งบราว 10,000 ล้านบาทเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยในการฟอกไตทั้งทางเส้นเลือดและทางหน้าท้อง ซึ่งคาดว่างบส่วนนี้จะเพิ่มขึ้นทุกปีๆ ละ 500 ล้านบาท เนื่องจากผู้ป่วยโรคไตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ (แต่ละคนมีค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ย 200,000 บาท/ปี) หากยังไม่มีมาตรการใดๆ หยุดยั้งแนวโน้มโรคไตเรื้อรัง งบประมาณและอุปกรณ์ทางการแพทย์ก็จะไม่เพียงพอ

งานวิจัยจุฬาฯ พัฒนาชุดตรวจโรคไตด้วยตนเอง

ด้วยทุนสนับสนุนการวิจัยจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) รศ.ดร.ณัฐชัย จึงได้ร่วมมือกับ รองศาสตราจารย์ ดร. กิตตินันท์ โกมลภิส สถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ จุฬาฯ พัฒนา“นวัตกรรมแถบตรวจคัดกรองโรคไตเรื้อรังในระยะเริ่มต้น” เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถตรวจสอบอาการโรคไตระยะแรกได้ด้วยตัวเองแบบปัสสาวะ ไม่ต้องกังวลคอยเช็คราคาการเจาะเลือดตรวจไต

“หากมีชุดตรวจที่เข้าถึงได้ง่ายก็จะทำให้คนไข้ตระหนักถึงโรคไตได้ดีขึ้น และเข้ารับการรักษาได้เร็วโดยไม่ต้องรอให้หนักถึงขั้นที่ต้องใช้การฟอกไต หากนำไปใช้ได้จริง จะทำให้รัฐบาลใช้งบประมาณในการฟอกไตผู้ป่วยลดลง”


แถบตรวจคัดกรองโรคไตเรื้อรัง ใช้ง่าย รู้ผลเร็ว

วิธีการตรวจโรคไตเรื้อรังโดยทั่วไปมี 2 วิธี คือ การเจาะเลือดตรวจค่าไตซึ่งใช้เวลานานและผู้ป่วยต้องเดินทางมารับบริการที่สถานพยาบาล อีกวิธีเป็นการตรวจโดยใช้ปัสสาวะ ซึ่งชุดตรวจที่มีในตลาดจะเป็นการตรวจจากโปรตีนในปัสสาวะ ไม่ใช่การตรวจไมโครอัลบูมิน (Microalbumin) ซึ่งมีความจำเพาะต่อโรคไตเรื้อรังมากกว่า และแม้ว่าที่โรงพยาบาลจะมีการตรวจอัลบูมินเหมือนกัน แต่การอ่านผลต้องอาศัยบุคลากรทางการแพทย์เท่านั้น








3 views

Recent Posts

See All

Comments


bottom of page