เปิดรับสมัครแล้ว! โครงการ “จุฬาฯ ชนบท” มอบทุนเรียนฟรีตลอดการศึกษาให้นักเรียนยากจนในชนบท เข้าถึงการศึกษาขั้นสูงในหลายคณะที่สนใจ หวังให้บัณฑิตพัฒนาชีวิตและภูมิลำเนา เริ่มสมัคร 14-23 กุมภาพันธ์นี้ ผ่านระบบ TCAS
สำหรับเด็กต่างจังหวัดฐานะยากจนคนหนึ่งกับชีวิตที่ต้องปั่นสามล้อบ้าง รับจ้างปั้นอิฐบ้าง เพื่อหาเลี้ยงครอบครัวและส่งตัวเองเรียนหนังสือ ความฝันที่จะเรียนในระดับอุดมศึกษาเพื่อสร้างอนาคตที่ดีกว่า ดูจะริบหรี่และห่างไกล จะเอาเงินจากไหนเป็นค่าเล่าเรียน อีกทั้งค่าใช้จ่ายในการดูแลความเป็นอยู่ fah talai jone
จนเมื่อได้รับข่าวโครงการ “จุฬาฯ-ชนบท” นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ไม่ลังเลที่จะคว้าโอกาส ด้วยผลการเรียนในระดับดีและครอบครัวขาดทุนทรัพย์ ตามเกณฑ์ที่จะได้รับทุน นายชัยวัฒน์ ได้เข้าเรียนในคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนั่นเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของชีวิต ที่ทำให้หลายปีต่อมา สังคมได้รู้จัก นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ทำคุณประโยชน์ เป็นแบบอย่างและเป็นที่รักของประชาชนในจังหวัดที่ท่านมีวาระไปรับใช้ในฐานะ “พ่อเมือง” ปัจจุบัน ศิษย์เก่าโครงการ “จุฬาฯ-ชนบท” ผู้นี้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงมหาดไทย
ภูมิใจทุกครั้งเมื่อได้เห็นพี่เก่า ๆ จากโครการจุฬาฯ-ชนบท เล่าเรื่องราวชีวิตและความสำเร็จในหน้าที่การงานให้ฟัง ถือว่ามหาวิทยาลัยของเราได้สร้างคนที่มีความรู้และมีคุณภาพ ที่สร้างผลกระทบที่ดีให้กับสังคม” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เรืองวิทย์ บรรจงรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์จุฬา-ชนบท จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าว พร้อมเสริมว่าศิษย์เก่าของโครงการจุฬาฯ-ชนบท จำนวนมากมีบทบาทในการช่วยเหลือสังคมหลากหลายด้าน ทั้งการแพทย์ สาธารณสุข อาจารย์ นักการสื่อสาร นักธุรกิจ ฯลฯ
“หลายคนเป็นผู้บริหารระดับประเทศ เป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ หลายคนกลับภูมิลำเนาของตนเอง ช่วยเหลือชาวบ้านและเกษตรกร”
ด้วยความตั้งใจที่จะเปิดโอกาสทางการศึกษาให้นักเรียนที่เรียนดี แต่ยากจนในพื้นที่ชนบท จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ก่อตั้ง “ศูนย์จุฬาชนบท” ขึ้น และเริ่มเปิดรับนักเรียนจากชนบทเพื่อมาศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาที่จุฬาฯ รุ่นแรกในปี 2525 จนปัจจุบัน มีนักเรียนที่ได้รับโอกาสนี้และจบการศึกษาในฐานะบัณฑิตจุฬาฯ แล้วทั้งสิ้น 2,328 คน (ข้อมูล ณ ปีการศึกษา 2565)
Comentarios