เปิดรับสมัครแล้ว! โครงการ “จุฬาฯ ชนบท” มอบทุนเรียนฟรีตลอดการศึกษาให้นักเรียนยากจนในชนบท เข้าถึงการศึกษาขั้นสูงในหลายคณะที่สนใจ หวังให้บัณฑิตพัฒนาชีวิตและภูมิลำเนา เริ่มสมัคร 14-23 กุมภาพันธ์นี้ ผ่านระบบ TCAS
สำหรับเด็กต่างจังหวัดฐานะยากจนคนหนึ่งกับชีวิตที่ต้องปั่นสามล้อบ้าง รับจ้างปั้นอิฐบ้าง เพื่อหาเลี้ยงครอบครัวและส่งตัวเองเรียนหนังสือ ความฝันที่จะเรียนในระดับอุดมศึกษาเพื่อสร้างอนาคตที่ดีกว่า ดูจะริบหรี่และห่างไกล จะเอาเงินจากไหนเป็นค่าเล่าเรียน อีกทั้งค่าใช้จ่ายในการดูแลความเป็นอยู่
จนเมื่อได้รับข่าวโครงการ “จุฬาฯ-ชนบท” นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ไม่ลังเลที่จะคว้าโอกาส ด้วยผลการเรียนในระดับดีและครอบครัวขาดทุนทรัพย์ ตามเกณฑ์ที่จะได้รับทุน นายชัยวัฒน์ ได้เข้าเรียนในคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนั่นเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของชีวิต ที่ทำให้หลายปีต่อมา สังคมได้รู้จัก นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ทำคุณประโยชน์ เป็นแบบอย่างและเป็นที่รักของประชาชนในจังหวัดที่ท่านมีวาระไปรับใช้ในฐานะ “พ่อเมือง” ปัจจุบัน ศิษย์เก่าโครงการ “จุฬาฯ-ชนบท” ผู้นี้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงมหาดไทย
“ภูมิใจทุกครั้งเมื่อได้เห็นพี่เก่า ๆ จากโครการจุฬาฯ-ชนบท เล่าเรื่องราวชีวิตและความสำเร็จในหน้าที่การงานให้ฟัง ถือว่ามหาวิทยาลัยของเราได้สร้างคนที่มีความรู้และมีคุณภาพ ที่สร้างผลกระทบที่ดีให้กับสังคม” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เรืองวิทย์ บรรจงรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์จุฬา-ชนบท จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าว พร้อมเสริมว่าศิษย์เก่าของโครงการจุฬาฯ-ชนบท จำนวนมากมีบทบาทในการช่วยเหลือสังคมหลากหลายด้าน ทั้งการแพทย์ สาธารณสุข อาจารย์ นักการสื่อสาร นักธุรกิจ ฯลฯ
“หลายคนเป็นผู้บริหารระดับประเทศ เป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ หลายคนกลับภูมิลำเนาของตนเอง ช่วยเหลือชาวบ้านและเกษตรกร”
ด้วยความตั้งใจที่จะเปิดโอกาสทางการศึกษาให้นักเรียนที่เรียนดี แต่ยากจนในพื้นที่ชนบท จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ก่อตั้ง “ศูนย์จุฬาชนบท” ขึ้น และเริ่มเปิดรับนักเรียนจากชนบทเพื่อมาศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาที่จุฬาฯ รุ่นแรกในปี 2525 จนปัจจุบัน มีนักเรียนที่ได้รับโอกาสนี้และจบการศึกษาในฐานะบัณฑิตจุฬาฯ แล้วทั้งสิ้น 2,328 คน (ข้อมูล ณ ปีการศึกษา 2565)
1. โครงการจุฬาฯ-ชนบท (โครงการรับนักเรียนจากชนบทเข้าศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
bangkok university เปิดรับ 161 ทุน โดยมีคณะที่เข้าร่วมโครงการ 16 คณะ (จากทั้งหมด 19 คณะ) ได้แก่
คณะวิศวกรรมศาสตร์
คณะอักษรศาสตร์
คณะวิทยาศาสตร์
คณะรัฐศาสตร์
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
คณะครุศาสตร์
คณะนิเทศศาสตร์
คณะเศรษฐศาสตร์
คณะสัตวแพทยศาสตร์
คณะทันตแพทยศาสตร์
คณะเภสัชศาสตร์
คณะนิติศาสตร์
คณะสหเวชศาสตร์
คณะจิตวิทยา
คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร
(สำหรับคณะที่ไม่เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เนื่องจากคณะเหล่านี้มีโครงการให้ทุนการศึกษาของคณะเองจำนวนมากอยู่แล้ว)
**รายละเอียดและเงื่อนไขต่าง ๆ อ่านได้จากประกาศรับสมัคร โครงการจุฬาฯ-ชนบท
2. โครงการจุฬาฯ-ชนบท โรงเรียนปอเนาะพิเศษฯ
เป็นโครงการที่รับนักเรียนจากโรงเรียนปอเนาะพิเศษในโครงการพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยในปีการศึกษา 2566 เปิดรับสมัครด้วยกัน 2 คณะ รวม 9 ทุนการศึกษา ได้แก่
คณะครุศาสตร์ (สาขาวิชาประถมศึกษา)
คณะรัฐศาสตร์ (สาขาวิชาการปกครอง และ สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา)
**รายละเอียดและเงื่อนไขต่างๆ อ่านได้จากประกาศรับสมัคร โครงการจุฬาฯ-ชนบท โรงเรียนปอเนาะพิเศษฯ
3. โครงการจุฬาฯ-ชนบท (โครงการสืบสานปณิธานสมเด็จย่าทันตแพทย์จุฬาฯ-ชนบท โดยความเห็นชอบจากกระทรวงสาธารณสุข)
เป็นโครงการพิเศษที่เน้นการรับนักเรียนในพื้นที่ที่ขาดแคลนทันตแพทย์โดยเฉพาะ (โดยมีเงื่อนไขการรับที่แตกต่างจากทุนคณะทันตแพทย์ของจุฬาฯ-ชนบท โครงการที่ 1) ดังนั้น นักเรียนต้องติดตามว่าในแต่ละปีการศึกษา โครงการนี้จะเปิดรับที่จังหวัดใด และจะต้องเป็นนักเรียนที่อาศัยอยู่ในภูมิลำเนานั้น เนื่องจากเมื่อเรียนจบจะต้องกลับไปปฏิบัติงานในเขตพื้นที่ทีกำหนด เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนทันตแพทย์ในพื้นที่นั่นเอง
สำหรับปีการศึกษา 2566 นี้ จะเปิดรับนักเรียนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดตาก นครพนม สุรินทร์ ศรีสะเกษ และเชียงใหม่
Comentários