ดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
พร้อมสมุดบันทึกรายงานการดูแลผู้สูงอายุและดูแลผู้ป่วยดุจคล้ายแฟ้มประวัติการดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล
ดูแลโดยแพทย์ พยาบาล และผู้เชี่ยวชาญในการดูแลผู้สูงอายุ
คนที่ท่านรักได้รับการดูแลโดยแพทย์ พยาบาลวิชาชีพ และพนักงานผู้ช่วยพยาบาล ที่มีประสบการณ์ เพราะเราคือ ศูนย์ดูแลผู้ป่วย ที่จะคอยดูแลผู้ป่วยของคุณอย่างดีที่สุด
ใส่ใจดูแล เรื่องอาหาร
วางแผนเมนูอาหาร จัดอาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยแต่ละคน สะอาด ถูกสุขอนามัย
ต้องดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน จะจัดห้องผู้ป่วยติดเตียงยังไงดี? My Luck มีคำตอบ
ผู้ป่วยติดเตียง คือผู้ป่วยแบบไหน
ผู้ป่วยติดเตียง คือ ผู้ที่มีอาการเจ็บป่วย ร่างกายเสื่อมโทรม เป็นได้ทั้งผู้ที่ไม่ได้รู้สึกตัวแล้ว และผู้ที่ยังรู้สึกตัวอยู่ อาจสามารถขยับตัวได้เล็กน้อย แต่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองในเรื่องอื่น ๆ ได้ เช่น ไม่สามารถลุกไปเข้าห้องน้ำเพื่อขับถ่าย, ไม่สามารถนั่งทานอาหารหรือตักอาหารเองได้ ผู้ป่วยจึงต้องนอนอยู่บนเตียงตลอดเวลา
การเป็นผู้ป่วยติดเตียง สามารถเกิดได้กับทุกวัย ซึ่งสาเหตุของการทำให้ต้องป่วยติดเตียง อาจเกิดได้จากทั้ง โรคภัยไข้เจ็บ อาทิ โรคหลอดเลือดในสมอง, อัมพฤกษ์ อัมพาต, โรคพาร์กินสัน, อาการกล้ามเนื้อลีบ เป็นต้น หรืออาจเกิดจากการประสบอุบัติเหตุร้ายแรง ได้เช่นกัน
ผู้ป่วยติดเตียง มีกี่ประเภท
ผู้ป่วยติดเตียง มี 2 ประเภทใหญ่ แบ่งตามการรู้สึกตัวของผู้ป่วย ได้แก่
ผู้ป่วยติดเตียงที่รู้สึกตัวอยู่ แต่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
ผู้ป่วยกลุ่มนี้ จะยังสามารถขยับร่างกายในบางส่วนได้ เช่น บางรายอาจพลิกตัวได้, บางรายอาจลุกนั่งได้ แต่ยังเดินไม่ได้ หรือบางรายอาจทานข้าวด้วยตัวเองได้อยู่ ผู้ป่วยติดเตียงในกลุ่มนี้จึงอาจต้องพึ่งพาผู้อื่นอยู่บ้าง ในการทำกิจกรรมบางอย่าง
ผู้ป่วยติดเตียงที่สูญเสียการรู้สึกตัว
ผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะต้องนอนติดเตียงโดยสมบูรณ์ เช่น ในรายที่ไม่สามารถตื่นมาพูดคุยสื่อสารได้ หรือที่เราเรียกว่า กลายเป็นเจ้าชายนิทรา/เจ้าหญิงนิทรา หรือ ผู้ป่วยที่เป็นอัมพาต ไม่สามารถขยับร่างกายได้ ดังนั้น ผู้ป่วยในกลุ่มนี้ จะต้องมีบุคลากรทางการแพทย์คอยดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อประคองและรักษาอาการดังกล่าว
コメント