เกิดอะไรขึ้นสายตาพร่ามัว มองอะไรก็เบลอ หรือมองเห็นภาพซ้อน ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยและส่งผลต่อการมองเห็นและใช้ชีวิตประจำวัน สาเหตุเหล่านี้อาจเกิดจากหลายปัจจัย ทั้งจากสาเหตุทั่วไปที่สามารถรรักษาหายได้ และจากโรคทางสายตาที่ร้ายแรง
อาการตาพร่ามัวเป็นอย่างไร ?
1. มองเห็นภาพเบลอ วัตถุที่เคยมองเห็นชัดเจน กลับมองไม่ชัด ร้านแว่นสายตา
2. ค่าสายตาเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดดในระยะเวลาไม่นานนัก เช่น เดิมสายตาสั้น 200 เพิ่มขึ้น 600 ในเวลาไม่กี่เดือน
3. มองเห็นแสงสะท้อนมากกว่าปกติ เช่น ขณะขับขี่เห็นแสงสะท้อนจนไม่สามารถขับขี่ต่อไปได้
4. มองเห็นภาพสีซีดจาง ภาพสีสดใสกลายเป็นสีจาง แยกแยะสีได้น้อยลง
5. มองเห็นภาพแคบลง และเดินชนสิ่งกีดขวาง
เกิดจากสาเหตุใดบ้าง ?
1. เกิดจากปัญหาสายตา
สายตาสั้น (Myopia) เป็นภาวะที่พบได้บ่อย โดยผู้ที่มีสายตาสั้นจะมองเห็นวัตถุที่อยู่ไกลไม่ชัดเจน แต่สามารถมองเห็นวัตถุที่อยู่ใกล้ชัดเจน สาเหตุหลักมาจากความยาวของลูกตาที่ยาวกว่าปกติ หรือกระจกตามีความโค้งมากกว่าปกติ ส่งผลให้แสงที่เข้าตากระจายไปตกที่ด้านหน้าจอประสาทตาแทนที่จะตกบนจอประสาทตาโดยตรง หากเพ่งตามากๆ จะส่งผลให้กล้ามเนื้อส่วนตาและบริเวณศีรษะเกิดความอ่อนล้า และเกิดอาการตาพร่ามัวได้
สายตายาว (Hyperopia) เป็นภาวะที่พบได้บ่อย โดยผู้ที่มีสายตายาวจะมองเห็นวัตถุที่อยู่ใกล้ไม่ชัดเจน แต่สามารถมองเห็นสิ่งที่อยู่ไกลได้อย่างคมชัด สาเหตุหลักมาจากกระจกตาแบนเกินไป หรือขนาดของดวงตาสั้นเกินไปเมื่อเทียบกับความยาวของลูกตา ส่งผลให้แสงที่เข้าตากระจายไปตกที่ด้านหลังจอประสาทตาแทนที่จะตกบนจอประสาทตาโดยตรง เพราะจุดโฟกัสลงที่ด้านหลังจอประสาทตา ทำให้กล้ามเนื้อส่วนตา จนถึงบริเวณศีรษะเกิดความอ่อนล้า ส่งผลให้เกิดตาพร่ามัว คล้ายกับภาวะสายตาสั้นอีกด้วย
สายตาเอียง (Astigmatism) เป็นภาวะที่พบได้บ่อย โดยผู้ที่มีสายตาเอียงจะมองเห็นภาพเบลอ มองไม่ชัด ทั้งระยะใกล้และระยะไกล อาจเห็นภาพซ้อน หรือมองเห็นเงาดำ สาเหตุหลักมาจากกระจกตามีความโค้งที่ไม่เท่ากันในแนวตั้งและแนวนอน หรือรูปร่างกระจกตาผิดปกติ ส่งผลให้แสงที่เข้าตากระจายไปตกที่หลายจุดบนจอประสาทตา แทนที่จะตกจุดเดียว ซึ่งจะทำให้มองสิ่งที่อยู่ไกลไม่ชัดเจน ร่วมกับการเกิดภาพซ้อน ซึ่งส่งผลให้เกิดความพร่ามัวในตาได้
สายตายาวตามวัย (presbyopia) เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป คือภาวะการมองเห็นสิ่งที่อยู่ไกลไม่ชัดเจน อันเนื่องมาจากอายุที่มากขึ้น ทำให้เลนส์ในตาแข็งตัว กระจกตาและวุ้นในตาเสื่อม ทัศนวิสัยจึงลดลง และก่อให้เกิดอาการตาพร่ามัวอีกด้วย
2. เกิดจากโรคบางชนิด
โรคต้อกระจก (Cataract) คือภาวะที่โปรตีนในเลนส์ตามีการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง เกิดเป็นเยื่อบุบางๆ ในตา ทำให้แสงกระทบบนกระจกตาได้น้อยลง จึงทำให้การมองเห็นแย่ลง เห็นภาพซ้อน และเกิดอาการตามัว
โรคเยื่อบุตาอักเสบ (Conjunctivitis) หรือรู้จักกันในโรคตาแดง เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส ที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ และเกิดการอักเสบ ระคายเคือง หรือติดเชื้อ จึงส่งผลให้ตาแฉะ ตาแดง และตาพร่ามัวได้
โรคเส้นประสาทตาอักเสบ (Optic Neuritis) เป็นภาวะที่เส้นประสาทตา ซึ่งทำหน้าที่นำสัญญาณภาพจากดวงตาไปยังสมอง เกิดการอักเสบ ส่งผลต่อการมองเห็น ทำให้มีอาการตาพร่ามัวอย่างเฉียบพลัน มักเกิดกับตาข้างเดียว อาจมีอาการปวดตา โดยเฉพาะเมื่อกลอกตา และอาจมีอาการตาไวต่อแสง
3. เกิดจากปัจจัยอื่นๆ
ตาแห้ง พฤติกรรมการใช้ดวงตามากเกินไป เช่น อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ การเล่นโทรศัพท์มือถือนานๆ ทำให้ดวงตาไม่สามารถผลิตน้ำหล่อเลี้ยงตาให้ชุ่มชื้นได้ จนเกิดเป็นตาแห้งและทำให้มองเห็นภาพมัวไปชั่วขณะ
การตั้งครรภ์ จะเกิดภาวะการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน เกิดผลข้างเคียงที่ทำให้ร่างกายเพิ่มแหล่งสะสมน้ำมากขึ้น ส่งผลให้ตาบวมและตาพร่ามัวได้
ไมเกรน (Migraine) เป็นภาวะที่หลอดเลือดแดงในสมองคลายตัวฉับพลัน จึงมีอาการปวดศีรษะอย่างมาก และอาจลามไปถึงบริเวณดวงกระบอกตา จนทำให้มองเห็นเป็นภาพมัว หรือเห็นภาพระยิบระยับ
ภาวะอื่นๆ
ปัญหาสายตาพร่ามัว เป็นอาการที่สายตามองเห็นได้ไม่ชัด มีอาการภาพเบลออยู่ตลอดเวลา โดยมีสาเหตุมาจากปัญหาของค่าสายตา โรคทางตา และภาวะอื่นๆ จนทำให้บดบังการมองเห็น การแก้ไขปัญหาสายตาพร่ามัวทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับปัญหาของแต่ละบุคคล
Comments