ปัจจุบัน ศูนย์ UTC เน้นทำงานกับงานวิจัยด้านเทคโนโลยีเชิงลึก 3 ประเภท ได้แก่ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เทคโนโลยีทางการแพทย์ (MedTech) และเทคโนโลยีชีวภาพ (BioTech) โดยวิธีการทำงานเริ่มต้นจากการเฟ้นหางานวิจัยเทคโนโลยีดีพเทค จากนั้นทีม UTC จะทำงานใกล้ชิดกับทีมวิจัย เพื่อยกระดับความพร้อมด้านธุรกิจควบคู่กับการพัฒนาเทคโนโลยีแบบมุ่งเป้า โดย UTC จะให้บุคลากรผู้เชี่ยวชาญจากทั้ง UTC และเครือข่ายพันธมิตรมาทำงานร่วมกัน ในรูปแบบ “ทีมโปรเจกต์” ซึ่งประกอบไปด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาโครงการนวัตกรรม ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการกระบวนการพัฒนานวัตกรรมและแผนธุรกิจ ที่จะมาช่วยให้คำแนะนำในกระบวนการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมในแต่ละขั้นตอน เช่น การพัฒนาโมเดลธุรกิจ การทดสอบตลาด การเลือกวิธีการดำเนินการเชิงพาณิชย์ เป็นต้น ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายธุรกิจและกลยุทธ์สิทธิบัตร ที่จะมาช่วยให้คำแนะนำในการวางแผนกลยุทธ์ด้านสิทธิบัตรเช่น IP Landscape การขึ้นทะเบียนอาหารและยา เป็นต้น ผู้เชี่ยวชาญที่มีองค์ความรู้เฉพาะด้าน เช่น หากเป็นงานวิจัยที่ต้องการประยุกต์เทคโนโลยี AI เพื่อไปใช้งานทางการแพทย์ ก็จะมีผู้เชี่ยวชาญในสาขาแพทย์ที่ให้คำแนะนำด้านการทำ Clinical Trial ระบบการเบิกจ่าย หรือกลยุทธ์ในการสร้างการยอมรับในการใช้งานโดยแพทย์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีโค้ชจากภายนอกจุฬาฯ มาให้คำแนะนำระหว่างการพัฒนานวัตกรรม ได้แก่ ศิษย์เก่าจุฬาฯ นักธุรกิจ ผู้ที่ทำงานด้านสังคม bangkok university
กระบวนการพัฒนา Deep Tech สู่ตลาดนวัตกรรม
ดร.ประวีร์ กล่าวว่าระยะเวลาพัฒนางานวิจัยสู่นวัตกรรมเชิงพาณิชย์ จะมีเป้าหมายในการดำเนินงานไม่เกิน 12 เดือน ทั้งนี้ กระบวนการพัฒนานวัตกรรมจะมี 3 ขั้นตอนใหญ่ๆด้วยกัน คือ
1.ขั้นตอนการค้นหางานวิจัยที่มีความพร้อม
ศูนย์ UTC จะเสาะหาและเปิดรับสมัครผลงานวิจัยเข้ามา โดยจะมีคณะกรรมการที่ทำหน้าที่พิจารณาโครงการ จากนั้นเมื่อรับงานวิจัยเข้ามาแล้ว UTC ก็จะจัดตั้งทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนานวัตกรรมเข้าไปดูแลใกล้ชิด เพื่อยกระดับความพร้อมทางธุรกิจ ควบคู่ไปกับการพัฒนาเทคโนโลยี จนสามารถได้แผนธุรกิจเบื้องต้นและสามารถประเมินว่างานวิจัยนี้สามารถใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในตลาดเป้าหมาย และมีลูกค้าที่สนใจซื้อ
2. การพัฒนาและทดสอบผลิตภัณฑ์ภาคสนามกับกลุ่มลูกค้าหรือผู้ใช้งานจริง
จากแผนธุรกิจที่ได้ ทางทีมวิจัยก็จะทำการพัฒนาต้นแบบขึ้นมาอย่างรวดเร็ว จากนั้นก็นำไปทดสอบตลาดด้วยการใช้จริงกับกลุ่มเป้าหมาย โดยมีผู้เชี่ยวชาญหรือโค้ชในด้านต่างๆจาก UTC และเครือข่าย ที่ให้คำแนะนำและนำผลจากการทดสอบใช้ไปปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่ออกไปเป็นไปตามทิศทางที่ต้องการภายในเวลาที่กำหนด
3. การดำเนินการเชิงพาณิชย์
เมื่อได้ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการวางแผนดำเนินการเชิงพาณิชย์เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยผู้เชี่ยวชาญจาก UTC จะให้คำแนะนำที่มีประโยชน์ต่างๆ เช่นการดำเนินการด้านกฎหมาย การขอสิทธิบัตร การถ่ายทอดเทคโนโลยี/สิทธิบัตรจากมหาวิทยาลัย การเจรจากับพันธมิตรภาคธุรกิจ การระดมทุน เป็นต้น
ขอบคุณข้อมูลจากเว็บ Chula
Comments