สำหรับประเภทของ knowledge management จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ Explicit Knowledge และ Tacit Knowledge โดยจะมีลักษณะแตกต่างกัน ดังนี้
1. Explicit Knowledge (ความรู้ที่ชัดแจ้ง)
Explicit Knowledge คือ ความรู้ที่มักจะอยู่ในรูปแบบเอกสาร คู่มือ หรือตำราต่าง ๆ เพราะความรู้เหล่านี้ผ่านการวิเคราะห์และสังเคราะห์จนกลายเป็นหลักความรู้พื้นฐานทั่วไป สามารถหาอ่านจากที่ไหนก็ได้ เช่น หนังสือ อินเทอร์เน็ต หรือเอกสารต่าง ๆ ไม่ว่าใครก็สามารถเข้าถึงองค์ความรู้นี้ได้ จึงอาจไม่ได้ช่วยให้มีการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจมากเท่ากับ Tacit Knowledge (ที่เราจะอธิบายในข้อถัดไป)
ตัวอย่าง Explicit Knowledge เช่น การอ่านคู่มือในการใช้งานซอฟต์แวร์ ซึ่งเราสามารถอ่านแล้วทำตามได้ทันทีเลย โดยที่ไม่ต้องอาศัยทักษะความรู้หรือประสบการณ์ที่มีมาก่อนหน้า
2. Tacit Knowledge (ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน)
Tacit Knowledge คือ ความรู้ที่อยู่ในตัวของบุคคล เกิดจากการเรียนรู้ ความคิดสร้างสรรค์ พรสวรรค์ และประสบการณ์ที่สั่งสมมาอย่างยาวนาน บางครั้งอาจมาจากสัญชาตญาณด้วย เพราะเป็นสิ่งที่ยากในการถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดและตัวอักษร แต่สามารถพัฒนาและแบ่งปันให้กับผู้อื่นได้ ความรู้ประเภทนี้จึงก่อให้เกิดความได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจได้ เช่น การคิดวิเคราะห์ ทักษะเฉพาะด้านต่าง ๆ
ตัวอย่าง Tacit Knowledge เช่น เราอาจจะไปอ่านวิธีการยิงโฆษณาที่ช่วยให้เกิดผลลัพธ์ทางธุรกิจ 10 เท่ามาจากหลายเว็บไซต์ แต่พอเรามาลงมือยิงโฆษณาจริง ๆ เราก็อาจจะไม่ได้ผลลัพธ์มากถึง 10 เท่าเหมือนกับบทความที่ไปอ่านมา เพราะเราจะต้องมีการฝึกฝน มีการทดลองหลาย ๆ ครั้งก่อน เพื่อให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมายหรือ Objective ที่เราต้องการให้เกิด ซึ่งมันไม่ใช่แค่อ่านทฤษฎีแล้วใคร ๆ ก็สามารถยิงโฆษณาให้เกิดผลลัพธ์ได้อย่างเห็นได้ชัดในครั้งแรก ขอบคุณข้อมูล thegrowthmaster
Comments