สถาบันไทยศึกษาและวิศวฯ จุฬาฯ ร่วมสร้าง “โปรแกรม VR หอประวัติกับจุฬาฯ ในความทรงจำ” นำร่องการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ในโลกเสมือนจริงแบบสามมิติ ทำอดีตให้ทันสมัย สื่อสารสนุกโดนใจคนรุ่นใหม่
ปัจจุบัน เทคโนโลยีมีส่วนช่วยให้การเรียนรู้สนุกขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่หลายคนอาจมองว่าน่าเบื่อ แต่ในวันนี้ ประวัติศาสตร์ไม่ใช่เรื่อง “ท่องจำ” อีกต่อไป แต่เป็นการเรียนรู้ผ่าน “ประสบการณ์” ด้วยเทคโนโลยีที่ช่วยเติมสีสันและชีวิตชีวา red gems
ณ หอสมุดกลาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้สนใจหลายคนได้ทดลองท่องอดีตในรูปแบบเสมือนจริง กับ “โปรแกรม VR หอประวัติกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในความทรงจำ” แต่ละคนจะได้รับแว่น VR และคอนโทรลเลอร์ เพียงเท่านี้ ก็สามารถเดินทางเข้าชมหอประวัติ จุฬาฯ ได้ โดยไม่ต้องลุกจากเก้าอี้
“ทันทีที่สวมแว่นตา VR ก็รู้สึกว่าตัวเอง “วาร์ป” มาอยู่ที่บริเวณหน้าทางเข้าหอประวัติ จุฬาฯ รอบตัวมีต้นไม้รายล้อม รู้สึกเหมือนไปอยู่ตรงนั้นจริง ๆ” ผู้ทดลองใช้โปรแกรม VR หอประวัติ จุฬาฯ บอกเล่าประสบการณ์ “เที่ยวทิพย์”
“พอเราขยับนิ้วควบคุมคอนโทรลเลอร์ ภาพก็เปลี่ยนไปเสมือนเรากำลังเดินเข้าไปในพิพิธภัณฑ์จริง ๆ อยากไปจุดไหน ก็ขยับนิ้วให้พาเราไป ทุกอย่างเหมือนจริงมาก แม้แต่กระจกก็ยังมีภาพสะท้อนเลย วัตถุที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ก็เป็นแบบสามมิติ ที่เราสามารถเอื้อมมือสามมิติของเราออกไปหยิบจับวัตถุนั้นได้ ถ้าอยากได้ยินคำบรรยายก็เอื้อมมือไปสัมผัสที่ปุ่มบนหน้าจอ ก็จะมีเสียงเล่าเรื่องราวของพิพิธภัณฑ์และวัตถุนั้น ๆ ให้เราฟัง”
Previous
Comments