เนื่องจากวิธีการนี้เป็นการใช้เกล็ดเลือดของผู้ป่วย (ผู้ปวด) เอง ดังนั้น ประสิทธิผลของการรักษาจึงแตกต่างกันไป ขึ้นกับสภาพร่างกายของคนไข้ ช่วงอายุ พฤติกรรมการใช้ชีวิต และคุณภาพเลือดของคนไข้แต่ละบุคคล
“ถ้าคนไข้เป็นคนแข็งแรง ออกกำลังกายดี เป็นนักกีฬา คุณภาพเลือดก็จะดี ผลการซ่อมแซมร่างกายก็จะดีไปด้วย”
นายแพทย์มาร์วิน อ้างการศึกษาการฉีดเกล็ดเลือดของต่างประเทศที่ระบุด้วยว่า ประสิทธิผลการฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้นซ่อมแซมร่างกายจะได้ผลดีมากกับคนไข้ที่อายุน้อยกว่า 55 ปี
“เนื่องจากวิธีนี้เป็นวิธีที่ปลอดภัยมาก เพราะใช้เลือดของคนไข้เองในการรักษาตนเอง จึงไม่มีผลข้างเคียงเหมือนการใช้ยารับงับปวดทั่วไป หลายครั้งจึงมีคนไข้ที่อายุมากกว่า 60 ปี มาขอรับการรักษาด้วยวิธีนี้ ซึ่งหมอก็ทำให้ได้ แต่ก็จะแจ้งคนไข้ด้วยว่า ประสิทธิผลอาจไม่ดีไม่เท่ากับคนที่อายุน้อยกว่า 55 ปี” international program in thailand
“การักษาทำโดยการดูดเลือดดำมาประมาณ 15 มิลลิลิตร แล้วนำไปปั่นแยกพลาสมาและเลือดแดง จากนั้นนำ พลาสมาที่มีเกล็ดเลือดเข้าข้นนำไปเพื่อการรักษาฉีดทันที”
ใครไม่เหมาะบรรเทาปวดด้วยเกล็ดเลือดเข้มข้น
การรักษาอาการปวดด้วยการฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น แม้จะดีแต่ก็ไม่เหมาะกับคนไข้ทุกคน โดยเฉพาะไข้ 2 กลุ่ม ได้แก่
ผู้ที่เป็นมะเร็ง เนื่องจากเลือดของผู้ป่วยมะเร็งอาจจะมีเชื้อมะเร็ง ซึ่งหากนำเลือดของคนไข้มาปั่นแล้วฉีดกลับเข้าไปในร่างกายคนไข้แล้ว ก็อาจทำให้เกิดการกระจายของเชื้อมะเร็งไปที่อวัยวะอื่น ๆ ได้
ผู้ที่มีภาวะการแข็งตัวของเลือดยาก การทำให้เกิดแผลจากเข็มฉีดยาอาจจะทำให้เลือดไหลมาก ซึ่งเป็นอันตรายต่อคนไข้
Comments