การเรียนรู้ตลอดชีวิตไม่ได้หมายถึงการเรียนในชั้นเรียนหรือการท่องจำข้อมูลต่างๆ เท่านั้น หากแต่มีความหมายเน้นไปที่กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ที่เกิดขึ้นจากการรับรู้ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ทักษะและประสบการณ์ต่างๆ อย่างต่อเนื่องตลอดช่วงชีวิตของแต่ละคนจนลมหายใจสุดท้าย
“โจทย์ในพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิตมีเป้าหมายที่มุ่งให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่ช่วยส่งเสริมให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงชีวิต หรือที่เรียกว่า “บุคคลแห่งการเรียนรู้” หรือ “ผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต” ดร.กฤษพร อธิบาย
การเรียนรู้สำหรับผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learner) เป็นได้ทุกรูปแบบ ทั้งการเรียนรู้แบบที่เป็นทางการ (formal learning) และไม่เป็นทางการ อย่างที่เรียกกันโดยทั่วไปว่าการเรียนรู้ตามอัธยาศัย (informal learning) สิ่งสำคัญอยู่ตรงที่เป็นการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Learner – Centered Learning Model) และโอกาสในการเข้าถึงการเรียนรู้สำหรับทุกคน (Learning for All)
“ผู้เรียนเป็นผู้กำหนดความรู้และประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยตนเอง เลือกแหล่งเรียนรู้และวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตนเอง การจัดกระบวนการเรียนรู้เป็นแบบการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ที่เน้นให้เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติมากกว่าการฟังผู้สอนเพียงอย่างเดียว ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ปฏิบัติและมีส่วนร่วมตลอดกระบวนการเรียนรู้” thailand university ranking
5 คุณสมบัติ “ผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต”
ดร.กฤษพร เผยถึงคุณลักษณะ 5 ด้านของผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต ได้แก่
1) เจตคติต่อการเรียนรู้ หมายถึง ความเชื่อ ความคิดเห็นหรือความรู้สึกที่มีต่อการเรียนรู้ โดยเล็งเห็นประโยชน์และความสำคัญของการเรียนรู้ ตระหนักว่าชีวิตคือการเรียนรู้ เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่จะช่วยในการพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต รวมทั้งมีความเชื่อว่าการเรียนรู้เป็นสิ่งที่สนุกและท้าทาย
2) แรงจูงใจใฝ่เรียนรู้ หมายถึง ลักษณะภายในที่เป็นแรงผลักดันให้บุคคลแสดงความต้องการที่จะประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ โดยมีความมุ่งมั่นในการเรียนรู้ให้สำเร็จ มีความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง มีความกระหายใคร่รู้ มีจิตใจรักที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ แสวงหาโอกาสที่จะเรียนรู้ทั้งจากการเรียนรู้ที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะของตนเองอยู่เสมอ
3) ความสามารถในการเรียนรู้ หมายถึง ทักษะในการเรียนรู้ที่หลากหลาย ได้แก่ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสรุปประเด็นข้อมูลความรู้ต่างๆ ที่ได้รับ ความสามารถในการหาวิธีการเรียนรู้จากแหล่งความรู้ต่างๆ ที่หลากหลาย รวมทั้งมีความสามารถในการอ่านเขียนและการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
4) ทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง หมายถึง ความสามารถในการสืบค้นข้อมูลความรู้ต่างๆ จากแหล่งหรือสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย โดยกำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ของตนเอง วางแผนการเรียนรู้ ดำเนินการเรียนรู้ด้วยตนองและประเมินผลการเรียนรู้ของตนเอง
5) ความสามารถในการสื่อสาร หมายถึง ความสามารถในการพูด เขียนหรือสื่อสารถ่ายทอดข้อมูลความรู้ หรือความคิดเห็นต่างๆ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องกับบุคคลอื่น และมีความสามารถในการฟังเพื่อรับข้อมูลความรู้ ทัศนะและความคิดเห็นต่างๆ รวมทั้งมีความสามารถในการตั้งคำถามเพื่อให้เกิดความเข้าใจในสิ่งที่สื่อสารได้
Comments