top of page
Search

AICute นวัตกรรมจุฬาฯ ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ รักษาตรงจุด ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต

Writer's picture: All anythingsAll anythings


แพทย์จุฬาฯ พัฒนาถุงมือพาร์กินสัน ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ ใส่ง่าย น้ำหนักเบา คืนชีวิตทางสังคมให้ผู้ป่วยพาร์กินสัน ลดผลข้างเคียงจากการรับประทานยาหลายชนิดและโอกาสเสี่ยงจากการผ่าตัดสมอง

สั่น ช้า เกร็ง — อาการผิดปกติที่สังเกตเห็นได้ชัดในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease) โดยเฉพาะอาการมือสั่นขณะพักอยู่เฉย ๆ ที่พบได้ในผู้ป่วยถึงร้อยละ 70 อาการสั่นอย่างควบคุมไม่ได้นี้ทำให้ผู้ป่วยมีภาพลักษณ์ของการเป็นโรค และอาจไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างที่ปรารถนา จำเป็นต้องพึ่งพาผู้ดูแล ซึ่งลดทอนความรู้สึกมั่นใจในตัวเองและทำให้รู้สึกอายในการเข้าสังคม green chiretta

แนวทางการรักษาโรคพาร์กินสันในปัจจุบัน คือ การรับประทานยารักษาโรคพาร์กินสันหลายชนิดร่วมกัน ซึ่งผลการรักษาส่วนใหญ่ก็ไม่สามารถลดอาการสั่นได้ทั้งหมด และในผู้ป่วยบางรายที่มีอาการสั่นมาก ๆ ก็อาจต้องรับการรักษาด้วยการผ่าตัดสมองเพื่อลดอาการสั่น ซึ่งเป็นทางเลือกที่ไม่มีใครปรารถนา เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูงและมีผลข้างเคียงมาก – นี่จึงเป็นโจทย์ใหญ่ที่ทำให้ทีมวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดยศาสตราจารย์ นายแพทย์รุ่งโรจน์ พิทยศิริ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.แพทย์หญิง อรอนงค์ โพธิ์แก้ววรางกูล มุ่งมั่นวิจัยและพัฒนาต้นแบบนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” มาตั้งแต่ปี 2557 ได้ทำการจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ โดยคำขอรับสิทธิบัตรภายใต้ชื่อ เครื่องวัดอาการสั่นและระงับอาการสั่นด้วยการกระตุ้นกล้ามเนื้อด้วยไฟฟ้าแบบพกพา ตั้งแต่มกราคม 2560 และมีผลงานวิจัยที่ได้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการทางการแพทย์ระดับนานาชาติ ที่สนับสนุนประสิทธิภาพของอุปกรณ์ จนล่าสุดทีมได้ประสบความสำเร็จในการพัฒนา “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่นรุ่นที่ 5” ที่มีน้ำหนักเบา สวมใส่ง่าย ลดสั่นได้ดีอย่างเป็นอัตโนมัติ และที่สำคัญ คือ มีราคาย่อมเยากว่าอุปกรณ์ประเภทเดียวกันที่นำเข้าจากต่างประเทศ

“ถุงมือพาร์กินสันลดสั่นเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ชิ้นแรก ที่ช่วยลดอาการมือสั่นในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันด้วยการกระตุ้นกล้ามเนื้อมือด้วยกระแสไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ ซึ่งเราหวังว่าจะช่วยให้คนไข้พาร์กินสันมีอาการสั่นลดลง โดยไม่ต้องเพิ่มยารับประทานจนเกินความจำเป็นและลดความเสี่ยงของการผ่าตัดสมองเพื่อลดอาการสั่น” ผศ.ดร.แพทย์หญิง อรอนงค์ เผยถึงความสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมสำหรับโรคพาร์กินสัน

ปัจจุบัน ทั่วโลกมีผู้ป่วยโรคพาร์กินสันกว่า 10 ล้านคน และในประเทศไทย มีราว 150,000 ราย โดยมีการประเมินว่าในจำนวนผู้สูงวัย (อายุ 60 ปีขึ้นไป) 100 คน จะมีผู้ที่ป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน 1 คน! (อ่านเพิ่มเติม รู้จักโรคพาร์กินสัน)

“ยิ่งเราเข้าสู่สังคมสูงวัย ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น ซึ่งเราคาดการณ์ว่าแนวโน้มผู้ป่วยโรคโรคพาร์กินสันจะเพิ่มขึ้น 2-3 เท่าตัวในอนาคต”

ผศ.ดร.แพทย์หญิง อรอนงค์กล่าวเสริมว่าการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐานะและแนวทางการรักษาในระบบสาธารณสุขของประเทศ หากผู้ป่วยโรคพาร์กินสันอยู่ในวัยทำงาน ก็จะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและความสามารถในการทำงาน รวมไปถึงสถานะทางเศรษฐกิจในครอบครัวผู้ป่วย ในขณะที่โรคพาร์กินสันในผู้ป่วยที่สูงวัยจะเกิดผลกระทบทางสุขภาพอื่น ๆ ตามมาอีกหลายอย่าง อันเนื่องมาจากภาวะสูงวัยที่อาจจะเพิ่มปัญหาการทรงตัวไม่ดี การเดินลำบาก กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง จนอาจจะเกิดปัญหาสุขภาพตามมา เช่น การหกล้ม จนอาจจะเกิดการบาดเจ็บหรือมีภาวะกระดูกหัก เป็นต้น ซึ่งนำไปสู่ภาวะผู้ป่วยติดเตียงได้ ทั้งหมดนี้ก็จะส่งผลกระทบต่อแนวทางการรักษา งบประมาณค่าใช้จ่าย สุขภาวะทั้งของผู้ป่วยและครอบครัว และระบบสาธารณสุขโดยรวมของประเทศอีกด้วย






1 view

Recent Posts

See All

เฮงดี888 (Hengde888) มีข้อดีหลายอย่างสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการเล่นเกมสล็อตและคาสิโนออนไลน์

เฮงดี888 (Hengde888) มีข้อดีหลายอย่างสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการเล่นเกมสล็อตและคาสิโนออนไลน์  โดยมีจุดเด่นดังนี้: 1. เกมสล็อตและคาสิโนครบวงจร...

Comments


©2023 by Jonah Altman. Proudly created with Wix.

bottom of page