4. ควรเป็นชื่อที่สั้น จำง่าย หลีกเลี่ยงการใช้อักษรย่อ
การตั้งชื่อบริษัทที่ใช้ชื่อย่อนั้น อาจทำให้ง่ายต่อการโฆษณา และการสื่อสารที่ง่ายขึ้นก็จริง แต่ในบริษัทที่เพิ่งเริ่มต้นในการทำธุรกิจนั้น การใช้ชื่อย่อจะทำให้ลูกค้าไม่ทราบว่าคุณทำธุรกิจด้านใด เกี่ยวกับอะไร อีกทั้งมักจะไปซ้ำกับชื่อบริษัทอื่นได้ง่าย และไม่เป็นที่จดจำ เช่น
บริษัท 2L จำกัด กับ บริษัท Love Live จำกัด ซึ่งจะเห็นได้ว่าชื่อบริษัทที่มีการเขียนแบบเต็มนั้น ออกเสียงง่าย และสามารถจดจำได้ง่ายกว่า
5. ตั้งชื่อให้โดดเด่น สะดุดหู ตรงกับภาพลักษณ์บริษัท
ชื่อบริษัทควรมีความเป็นเอกลักษณ์ เป็นคำที่สะดุดหู ฟังแล้วรู้สึกกระแทกใจ โดยจะส่งผลไปถึงการจดจำชื่อบริษัท ช่วยดึงดูดความสนใจของลูกค้าได้ง่ายขึ้น ทั้งยังสามารถแสดงถึงตัวตนของบริษัท รวมไปถึงภาพลักษณ์ได้เป็นอย่างดี
บริษัท โคตรคูล จำกัด
บริษัท ช้อปปี้ (ประเทศไทย) จำกัด
6. ตั้งชื่อไม่ซ้ำ หรือใกล้เคียงกับชื่อบริษัทอื่น
การตั้งชื่อบริษัทที่เหมือนกันหรือคล้ายกัน ทั้งในด้านการเขียนและออกเสียงนั้น จะทำให้ลูกค้าเกิดความเข้าใจผิด และลังเลในตัวของบริษัทได้ เพราะนอกจากสร้างความสับสนแล้ว อาจทำให้มีปัญหาในเรื่องของลิขสิทธิ์ที่ตามมาในภายหลัง ดังนั้นในการตั้งชื่อบริษัท ควรมีการหาข้อมูลให้ถี่ถ้วนว่าชื่อบริษัทนี้มีใครใช้แล้วหรือยัง รวมไปถึงชื่อที่จะตั้งบริษัทนั้น ต้องไม่คล้ายกับชื่อบริษัทอื่นอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น
บริษัท WE TOPGRADE กับ บริษัท WEE TOPGRADE จะเห็นได้ว่าชื่อทั้งสองบริษัทมีความคล้ายคลึงกันเป็นอย่างมาก และอาจทำให้ลูกค้าสับสนได้
Comments